ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ นายณัฐพล พุฒแย้ม ได้เลยครับ

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

การเสริมสร้างและรักษาภูมิคุ้มกันของร่างกาย

     จากกลไลการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันตามที่ได้กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าร่างกายของมนุษย์จะประกอบด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่เป็นด่านป้องกันทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง ขน เยื่อเมือกต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถทำลายสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ หรือแอนติเจนที่เข้าสู่ร่างกาย ได้แก่ เม็ดเลือดขาว อินเตอร์เฟอรอน ระบบคอมพลีเมนต์และแอนติบอดี เป็นต้น     ลักษณะระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีตั้งแต่ภูมิคุ้มกันที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อและแม่ ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลัง และภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน หรือสารต้านเชื้อโรคในรูปแบบต่าง ๆ โดยที่ระบบภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะมีผลต้านแอนติเจนได้ในวงจำกัดเท่านั้น หากร่างกายอ่อนแอหรือมีบาดแผลที่ผิวหนัง ก็จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมไม่สามารถต้านทานจุลินทรีย์ก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมไ อ่านเพิ่มเติม


การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย

การรักษาอุณหภูมิในร่างกาย


            สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีกลไกบางอย่างในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม สำหรับสัตว์เลือดเย็น เช่นพวกปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำนั้นมีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายไปตามสิ่งแวดล้อม ทว่าก็มีขีดจำกัด ถ้าไม่สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายตามสิ่งแวดล้อมได้ มันจะหลีกเลี่ยงด้วยการหลบไปอาศัยอยู่ในที่ๆ เหมาะสม (อพยพ) ซึ่งป อ่านเพิ่มเติม

การรักษาดุลยภาพของ กรด-เบส ในร่างกายคน

การรักษาสมดุลของกรด- เบสในมนุษย์

การควบคุมกรด เบส ในร่างกายทั่วไปนั้นหมายถึง การควบคุมความเข้มข้นของ ไฮโดรเจนอิออนของน้ำในร่างกายหรือเลือดให้มีค่าคงที่ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของเอนไซม์และปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย การที่ของเหลวในร่างกายหรือในเซลล์ จะมีโฮโดรเจนอิออนมากหรือน้อยนั้นเกิดจากการแตกตัวของโฮโดรเจนอิออนจากกรดชนิดต่างๆ ถ้ามีโฮโดรเจนอิออนเข้มข้นมากค่า PH จะต่ำแสดงสภาพเป็นกรด แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าของเหลวนั้นมีโฮโดรเจนอิออนเข้มข้นน้อยค่า PH จะสูงแสดงสภาพเป็นเบส ซึ่งสารที่ให้ความเข้มข้นของไฮโดรเจนอิออนต่ำลงได้แก่ สารไฮโดรเจนค่าร์บอเนตอิออน ฟอตเฟตอิออน และไฮดรอกไซด์อิออนหรือนั่นคื่อสารที่ไฮดรอกไซด์อิออนเข้มข้นมากความเข้มข้นของไฮโดเจนอิออนก็จะลดลงค่า PH จะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ เพราะปริมาณของสารที่ให้และรับไฮโดรเจนอิออนไม่คงที่เนื่องจากมีการนำส อ่านเพิ่มเติม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุในร่างกายคน

การรักษาดุลยภาพน้ำและแร่ธาตุในร่างกายคน

     ในร่างกายของมนุษย์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบประมาณ 3 ใน 4 หรือประมาณ 75% ของน้ำหนักตัวโดยน้ำที่อยู่ในร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ น้ำที่ประกอบอยู่ภายในเซลล์ประมาณ 60% น้ำที่อยู่นอกเซลล์ประมาณ 30% น้ำที่อยู่ในเนื้อเยื่อและน้ำเลือดอีกไม่เกิน 10% ซึ่งน้ำในแต่ละส่วนจะถูกควบคุมให้มีดุลยภาพอยู่ได้ โดยจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงเพื่อทดแทนกันอยู่ตลอดเวลา     ปกติมนุษย์ต้องการน้ำประมาณวันละ 2-3 ลิตร ซึ่งได้จากการดื่มน้ำ การบริโภคอาหารและจากกระบวนการออกซิเดชันจากสารอาหารอีกประมาณ 200 มล. โดยร่างกายจะมีการขับน้ำออกจากร่างกายในลักษณะของปัสสาวะ อุจจาระ ลมหายใจ และเหงื่อ ซึ่งวิธีการหลักที่ร่างกายใช้ในการขับน้ำออกจากร่างกาย คือ ทางปัสสาวะ โดยในแต่ละวันมนุษย์จะมีการขับน้ำออกทางปัสสาวะประมาณ 500-2,300 มล. หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 1,500 มล.     อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการรักษาดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุในร่างกายมนุษย์ ได้แก่ ไต ปอด และผิวหนัง ซึ่งแต่ละ อ่านเพิ่มเติม


การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์


การลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องมีการรับสารจากภายนอก เช่น แร่งธาตุ น้ำ และอาหาร เข้าสู่เซลล์ เป็นต้น ในขณะเดียวกัน
เซลล์ก็จะกำจัดสารส่วนเกินหรือของเสียออกสู้ภายนอกด้วย เพื่อปรับหรือรักษาสภาพภายในเซลล์ให้เหมาะสม
ทำให้สามารถมีชีวิตได้ตามปกติ
เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีเยื่อหุ้มเซลล์ ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์
 เยื่อหุ้มเซลล์จัดเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ ยอมให้สารบางอย่างผ่านได้ แต่สารบางอย่างผ่านได้ยากหรือผ่า อ่านเพิ่มเติม